นวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสนออาจารย์มงคล ภวังคนันท์


1. การทำฝนหลวง
ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยเครื่องบินพระที่นั่งเพื่อทรงเยี่ยมพระสกนิกรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ทรงสังเกตเห็นว่ามีปริมาณเมฆมาก ปกคลุมตลอดพื้นที่ แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนได้ ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นฤดูฝน ประกอบกับมีพระทัยห่วงใยอยู่แต่เดิมว่าภาวะแห้งแล้งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระอัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์จึงมีพระราชดำรัสให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์, ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล และ ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ร่วมกันค้นคว้าทดลองวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่
ด้วยเหตุนี้โครงการ ‘ฝนหลวง’ หรือ ‘ฝนเทียม’ จึงได้เกิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้จักตั้ง ‘สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง’ ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะต่อมา หลังศึกษาค้นคว้านานถึง ๑๒ ปี ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้ทดลองโปรยสารเคมีเพื่อทดลองฝนหลวงเป็นครั้งแรก ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แต่ผลไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการนัก จึงมีการค้นคว้าปรับปรุงเรื่อยมาจนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
แม้ในขณะนี้โครงการฝนหลวงจะประสบความสำเร็จจนกลายเป็นต้นแบบให้หลายประเทศมาศึกษาดูงาน แต่ก็ยังค้นคว้าต่อเพื่อให้วิธีทำฝนพัฒนาก้าวหน้า โดยพระราชทานแนวความคิดไว้หลายประการ เช่น สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำสำเร็จ ไทยจะได้เป็นผู้นำของการทำฝนหลวงในภูมิภาคนี้ อีกวิธีหนึ่งที่กำลังค้นคว้าอยู่ก็คือ การใช้เครื่องพ้นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาเข้าสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขาได้

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ดำเนินการยื่นขอจดสิทธิบัตรฝนหลวงในสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยสหภาพยุโรปได้รับจดสิทธิบัตรเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าวในสหภาพยุโรป จะทำให้ฝนหลวงของพระองค์ได้รับการคุ้มครองถึง ๓๐ ประเทศ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติยังได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรฝนหลวงในสหรัฐอเมริกาด้วย

นอกจาก ‘ฝนหลวง’ จะนำความชุ่มฉ่ำละความหวังมาสู่ชีวิตเกษตรกรชาวไทยแล้ว ยังเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติด้วย เพราะหลายๆ ประเทศได้ทำหนังสือมายังสำนักฝนหลวงเพื่อขอพระราชทานฝนหลวงไปช่วยเหลือประชากรในประเทศที่ประสบภาวะแห้งแล้งด้วย เช่น อินโดนีเซียและประเทศในแถบตะวันออกกลาง ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ‘Brussel Eureka 2001 : 50 th World Exhibition Innovation, Research and New Technology’ ครั้งที่ ๕๐ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ประเทศไทยได้ส่งผลงานประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ผลงาน คือ โครงการทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวง และโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดน้ำมันปาล์ม เข้าร่วมแสดงในนิทรรศการนี้ด้วย ทั้ง ๓ โครงการได้รับสดุดีเทิดพระเกียรติคุณเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับรางวัล Gold Medal with Mention พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติ



2. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านคมนาคม/สื่อสาร
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสื่อสาร และเทคโนโลยีจะเกี่ยวกับการปรับปรุงถนนหนทาง ทั้งในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เพื่อใช้สัญจรไปมาและนำสินค้าออกมาจำหน่ายภายนอกได้โดยสะดวก ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาม โครงการแรกคือโครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบันคือตำบลทับใต้) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนกระทั่งโครงการสะพานพระราม 8 ที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ได้รับความสะดวกยังผลสู่ภาพรวมของประเทศทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ ดังพระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ความว่า

“สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้นสำคัญที่สุดคือถนนก็ต้องมีถนนที่เหมาะสมทีเครื่องควบคุมการจราจรไม่ใช่เรื่องของรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรมก็จะต้องให้ดีขึ้น คือหมายความว่าทำให้ถนนดีขึ้น ให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักสุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว ไม่ได้มีแผนผังเมืองที่จริงๆ จัง ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ได้ประโยชน์มากนักเพราะว่าคนไทย ตามชื่อคนไทย คืออิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวนี้ก็สร้างก็ไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่นอันนี้ก็เลยแก้ไม่ได้...”

โครงการสะพานพระราม 8




โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เมื่อปี 2538 ณ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8” ด้วยทรงตระหนักถึงความคับคั่งของการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ ระหว่างพื้นที่ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีที่ยังขาดการเชื่อมต่อที่เพียงพอทำให้เกิดการคับคั่งของการจราจร บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ชั้นใน บริเวณถนนราชดำเนินราชดำเนินกลาง ซึ่งต่อกับฝั่งธนบุรีโดยผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งของฝั่งธนบุรีที่มีปริมาณการจราจรคับคั่งให้สามารถคลี่คลายลงได้




3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่งดังจะเห็นว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีตามไปด้วย ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“... การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดี พร้อมทั้งร่ายกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นแต่ผู้สร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ



แพทย์พระราชทานดังกล่าว จะจัดชุดทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ ได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ ตามเสด็จไปรักษาพยาบาลยังหมู่บ้านต่าง ๆ

การอบรมหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
พระราชดำริให้คัดเลือกราษฎรอาสาสมัครตามหมู่บ้านต่าง ๆ มารับการอบรมหลักสูตร “หมอหมู่บ้าน” โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรมเหล่านี้จะได้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตน การอบรมเน้นในเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเวชศาสตร์ป้องกันอย่างง่าย ๆ การโภชนาการ (โดยเฉพาะแม่และเด็ก) การติดต่อกับเข้าหน้าที่รักษาพยาบาลของรัฐคือ สถานีอนามัยจนถึงโรงพยาบาลอำเภอและจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่มาให้การสนับสนุนในการอบรมหน่วยต่าง ๆ ทั้ง พลเรือน และทหาร ฝ่ายปกครองและฝ่ายการแพทย์ สถานที่ดำเนินการฝึกอบรมได้แก่ โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ งานทั้ง ๒ ลักษณะข้างต้นมีพื้นที่ครอบคลุมในภาคเหนือตอนบน ประมาณ ๑๐ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๘ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร มหาสาคาม กาฬสินธุ์ เลย และในภาคใต้ ๔ จังหวัดคือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา โครงการแพทย์พระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย การบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทานและอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะจากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษาผู้ป่วยจะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใด ๆ และสำหรับการอบรมหมอหมู่บ้านนั้นจะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรู้จักวิธีติดต่อกับหน่วยราชการในกรณีที่เกินขีดความสามารถที่จะดูแลรักษาตนเองได้ อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่าโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานสามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรง จะช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ราษฎรทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการบำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จะเป็นชาวชนบทที่ยากจนที่มีอาชีพเป็นการเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจากจำนวนตัวเลขที่ปรากฏในแต่ละปีจะมีราษฎรที่เจ็บป่วยจากทุกภาคที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งที่เป็นคนไข้ในโรงพยาบาล และผู้ที่มาขอรับการตรวจ ตลอดจนจากการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จ ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีจำนวนมากมายนับหมื่นนับแสนคน
๒. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่จะต้องใช้กำลังกายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้ว ราษฎรเหล่านั้นจะมีร่างกายที่สามารถต่อสู่กับงานหลักในการประกอบอาชีพได้ ยังผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอนพระมหากรุณาธิคุณทางด้านการแพทย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระองค์ทรงไม่ทอดทิ้งประชาชนและทรงนำพาประชาชนไปสู่ความมีสุขภาพที่ดีและอยู่ดีกินดีได้ในที่สุด

“...ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแล บำบัดทุกข์ให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่กันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบนรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท...”

ไม่มีความคิดเห็น: