ภูมิปัญญาไทย


ภูมิปัญญาสาขาศิลปกรรมเครื่องปั้นดินเผา
บ้านทุ่งหลวงเครื่องปั้นดินเผาของชาวทุ่งหลวง อำเภอคีรีมาศในปัจจุบันมีความหลากหลายมากกว่าในอดีต จากรูปแบบดั้งเดิมที่ปั้นโอ่งไว้ใช้และจำหน่าย ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นกระถางปลูกต้นไม้ แจกัน โคมไฟ กระปุกออมสิน รูปสัตว์ต่าง ๆ ของตั้งโชว์ เป็นต้น การตกแต่งภาชนะใช้วิธีพิมพ์ลายเป็นส่วนใหญ่ โดยจะใช้ไม้สลักหรือไม้เนื้ออ่อน เขียนลวดลาย นำไปกดบนภาชนะให้เป็นลวดลาย เมื่อปั้นเสร็จใหม่ ๆ นอกจากนี้ก็มีการฉลุลายเป็นลายโปร่ง การเผาจะเป็นการเผาแบบโบราณ คือการเผาแบบเตาสุม ก่อนเผานำภาชนะที่เผาไปผึ่งแดดไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมงให้แห้ง เพื่อให้ภาชนะที่เผามีสีสวยงาม การเผาจะเผาทิ้งไว้ข้ามคืน รุ่งเช้าจึงจะนำเครื่องปั้นหรือภาชนะนั้นออกมาจากเตาเผา
ศิลปินพื้นบ้านที่ทำชื่อเสียงให้เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวงโด่งดังเป็นที่สนใจของประชาชนคือ คุณยายตี๋ เฮงสกุล หลังจากที่คุณยายตี๋ได้รับรางวัลดีเด่นในงานประกวดการแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2527 ทำให้งานเครื่องปั้นดินเผาของคุณยายตี๋ขายได้อย่างจริงจัง แม้คุณยายตี๋ เฮงสกุลจะถึงแก่กรรมแล้ว ก็ยังมีผู้สืบสานศิลปะการปั้นเครื่องปั้นดินเผาอำเภอทุ่งหลวงต่อไป เช่น คุณยายเนี้ยว ทองดี น้องสาวคุณยายตี๋ และชาวบ้านท่านอื่น ๆ เช่น คุณเฉลา อยู่กลัด ผู้ปั้นผลงานนางกวัก พระอภัยมณี นางเงือก หัวพญานาค ฯลฯ




ของดี ของงาม...ตามภูมิปัญญาไทยโคมแขวน

สมัยนี้โคมอาจเป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ แต่สมัยก่อน ย้อนหลังไปไม่ต้องไกลหรอก เอาแค่กึ่งพุทธกาลนี่เอง โคมยังมีบทบาทอยู่สูงในฐานะเครื่องให้แสงสว่างในยามค่ำคืน แต่ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร โคมงดงามเสมอ มีเสน่ห์ สีสันบรรยากาศชวนนึกถึงค่ำคืนในแผ่นดินล้านนา (ว่าเข้านั่น)
โคมทำมาจากไม้ไผ่กับกระดาษสา ผ่านการคิดอ่านแต่งสร้างมาสักเท่าไรไม่รู้จึงจะลงตัวอย่างที่เห็นๆ บางคนอาจบอกว่าไม่น่าเสียเวลาคิดเลย โคมจีนก็มี เราเองก็สันถวะเสพส้องกับจีนมานมนานกาเล สั่งซื้อเอาก็ได้ ง่ายดี
แต่คนโบราณอาจไม่คิดเหมือนเรา
ไม่แน่ใจว่าคนโบราณล้านนาคิดขึ้นเองหรือได้ไอเดียมาจากแว่นแคว้นแดนใด น่าจะคิดขึ้นเองมากกว่า เพราะความจำเป็นในการใช้สอยมีแล้ว วัตถุดิบในท้องถิ่นก็มีพรั่งพร้อมทั้งไม้ไผ่และกระดาษสา กรรมวิธีการเอาเยื่อสามาแช่น้ำแล้วช้อนแตะให้ติดกันเป็นแผ่นบางๆ ทำกันมาแต่ชั่วรุ่นไหนแล้วไม่รู้ อย่างน้อยคงทำเป็นตั้งแต่เริ่มรู้จักใช้ตัวหนังสือโน่นกระมัง
คงคิดๆ ฝันๆ แล้วลองผิดลองถูกกันมา อาจกินเวลาหลายชั่วคน แล้วค่อยลงตัวให้เราพบเห็นเป็นของดีของงามอย่างในปัจจุบันนี้
โคมมีหลายแบบ แบบที่เอารูปมาลงนี้เรียกว่าโคมแขวน ไม่ใช่โคมลอย มักจะแขวนไว้สูงๆ สุดปลายไผ่ปลายพร้าว ยามลมเหนี่ยวน้าวโคมแขวนแกว่งไหว หางไหวที่ห้อยย้อยลงมายาวๆ มักพลิ้วพะเยิบพะยาบเป็นภาพชวนฝัน แต่ดั้งเดิมสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้นั้น ข้างในโคมเขาใส่ผางประทีปเป็นเครื่องให้แสง เดี๋ยวนี้มีไฟฟ้าใช้ ต่อหลอดไฟเข้าใส่แล้วเปิดไฟสะดวกดี งาม เป็นส่วนผสมที่กลมกลืนระหว่างเก่ากับใหม่ มักพบเห็นทั่วไปในงานเลี้ยงหรืองานสังสรรค์นอกสถานที่
โคมแขวนเองก็มีหลายรูปหลายแบบ ใหญ่ๆ เล็กๆ แล้วแต่ประโยชน์ใช้สอยและความสามารถใน
การประดิดประดอย แต่เดิมมานั้นโคมแขวนไม่ใช่ของซื้อของขาย เป็นของทำได้เอง จะทำกันมากในช่วงเทศกาลยี่เพ็ง พอถึงคืนเพ็งพวกเราชาวบ้านนอกขอกแดนทั้งหลายจะจุดประทีปเรียงรายเต็มราวรั้วและเต็มหน้าบ้านชานเรือน ส่วนที่ประตูรั้วก็จะแขวนโคม นอกจากที่บ้าน พวกเรายังเอาไปแขวนเป็นพุทธบูชาไว้ที่วัด เดือนยี่เพ็งโดยทั่วไปจะมีงานใหญ่ที่วัด ไม่ใช่งานสนุกสนานรื่นเริงมีมหรสพอย่างปอยหลวง แต่เป็นงานหนักไปทางบุญ นั่นคือการตั้งธรรมหลวงหรือการเทศนาพระมหาชาติชาดกสิบสามกัณฑ์ เป็นงานใหญ่งานหลวงทรงความขลังศักดิ์สิทธิ์และวิจิตรอลังการมาก นอกจากขนมจ็อก ขนมปาด และข้าวต้มข้าวหนมอื่นๆ แล้ว ยี่เพ็งยังมีความคิดฝันมากมายให้แก่เด็กๆ เสียดายแต่เดี๋ยวนี้ประเพณียี่เพ็งจืดกร่อยและกลายรูปไปเกือบหมดแล้ว มีไม่กี่แห่งที่ยังจัดได้ตามความหมายดั้งเดิม
หากจะเล่าถึงปอยบุญยี่เพ็งก็จะยืดยาวล้นกรอบ ขอตัดแต่เพียงว่าโคมแขวนเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของยี่เพ็ง
ปัจจุบันแหล่งผลิตโคมใหญ่ๆ อยู่ที่บ้านเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ่อครูแม่ครูผู้ทรงฝีมือในการประดิษฐ์โคมได้แก่พ่อน้อยสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร (คุณพ่อของคุณจรัล มโนเพ็ชร) แม่ครูบัวไหล บ้านเมืองสาตร พ่อครูเสถียร ณ วงศ์รักษ์ เป็นต้น



ลูกประคบ ” ภูมิปัญญาไทยเพื่อคนไทย

“สูงสุด คืนสู่สามัญ” คำกล่าวนี้ยังเป็นจริงอยู่ทุกเมื่อ เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะเจริญก้าวไกลเพียงใด แต่ท้ายที่สุดมนุษย์ก็ต้องหวนกลับมาพึ่งพิงสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดการแสการนำสมุนไพร กับภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวโลก หนึ่งในภูมิปัญญาไทยที่น่าภาคภูมิใจและมีการใช้อย่างแพร่หลาย คือ “ลูกประคบ” ซึ่งมีสรรพคุณทั้งในด้านการบำบัดรักษาโรค ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้เพื่อดูแลสุขภาพความงามได้อีกด้วยลูกประคบเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ซึ่งสามารถทำใช้ได้อย่างง่ายๆ ด้วยการนำสมุนไพรมาห่อด้วยผ้าแล้วนำไปนึ่ง และนำมาประคบที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งมักใช้ควบคู่กับการนวดแบบไทย โดยการทำการประคบหลังจากนวดเสร็จแล้วลูกประคบไทยมี 2 ชนิดคือ ลูกประคบสด และลูกประคบแห้ง ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ส่วนผสมของลูกประคบแห้งนั้นจะต้องนำไปตากแห้งก่อนที่จะนำมาตำรวมกัน และจะมีอายุการใช้งานนานกว่าลูกประคบสด คือสามารถเก็บได้เป็นเดือน ส่วนลูกประคบสดนั้นเก็บไว้ได้ประมาณ 10 วันเท่านั้น แต่ได้ผลดีกว่าการใช้ลูกประคบแห้งส่วนใหญ่แล้วลูกประคบจะประกอบด้วยสมุนไพร 9 ชนิด ที่มีสรรพคุณแตกต่างกันไป ช่วยให้ลูกประคบเป็นสมุนไพรที่เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรสารพัดประโยชน์ เช่น เหง้าไพล ที่แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ผิวมะกรูด ที่มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน ตะไคร้ ที่มีกลิ่นหอมสดชื่น ใบมะขาม แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต เกลือแกง ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น การบูร บำรุงหัวใจ แก้พุพอง และ พิมเสน ช่วยบำรุงหัวใจ แก้หวัดส่วนผสมเหล่านี้ถูกนำมารวมกันโดยหั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ และผิวมะกรูดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาตำพอหยาบๆ หลังจากนั้นนำใบมะขาม ใบส้มป่อย ผสมเข้าไป แล้วใส่เกลือกับการบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน ต้องระวังอย่าให้แฉะเป็นน้ำ แล้วนำไปใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบ รัดด้วยเชือกให้แน่นการเก็บรักษาลูกประคบ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพราะจะทำให้เก็บได้นานขึ้น และควรหมั่นตรวจลูกประคบ ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว หรือถ้าลูกประคบไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลง แสดงว่ายาที่ใช้มีคุณภาพน้อยลง จะใช้ไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่ก่อนใช้ต้องนำลูกประคบไปนึ่งประมาณ 20 นาที ทั้งนี้ สำหรับลูกประคบแห้งจะต้องนำมาพรมน้ำพอหมาดๆ ก่อนที่จะนำไปนึ่งด้วย จากนั้นก็นำมาประคบในบริเวณที่ต้องการได้เลย แต่ต้องระวังอย่าใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะ กับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เป็นแผลอักเสบในช่วง 24 ชั่วโมงแรก และในบุคคลที่เป็นอัมพาต เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเบาหวานความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น อีกทั้งกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้เกิดความสดชื่น และผ่อนคลายความเครียดได้ด้วยนอกจากนี้ ลูกประคบยังสามารถนำไปใช้ในการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดบุตร ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิท ลดไขมันหน้าท้องยุบ และช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวกมากขึ้น โดยใช้เวลาทำในตอนเช้าเพียงครั้งละไม่เกิน 3 ชั่วโมง และทำติดต่อกัน 3-5 วันเท่านั้นหลังจากการประคบสมุนไพร ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิของร่างกายยังปรับเปลี่ยนไม่ทัน อาจจะทำให้เป็นไข้ได้ลูกประคบกำลังเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ ทั้งจากยุโรป อเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศสโลเวเนีย เนื่องจากสรรพคุณที่หลากหลาย และยังสามารถนำเข้าได้ง่าย เนื่องจากไม่ขัดกับข้อตกลงของ FTA ด้วย เพราะสมุนไพรในลูกประคบไม่ถือเป็นตัวยา และไม่ต้องนำเข้าสู่ร่างกายการทำลูกประคบสามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือทำเป็นอาชีพก็ได้ ผู้สนใจสามารถเข้ารับการอบรมได้ฟรี ภายในงาน “มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 1” ที่จัดโดย กระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 1-5 กันยายน 2547 ที่ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นอกจากนี้ ยังมีการอบรมระยะสั้นฟรีอีก 10 หลักสูตร ได้แก่ นวดตัวเองด้วยผ้าขาวม้า นวดในครัวเรือน ชี่กง อยู่ไฟ โยคะพื้นฐาน กดจุด นวดทารก เครื่องประทินผิว และเครื่องหอมไทย ฯลฯ สำรองที่นั่งโทร. 0-2591-7808-9

นวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสนออาจารย์มงคล ภวังคนันท์


1. การทำฝนหลวง
ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยเครื่องบินพระที่นั่งเพื่อทรงเยี่ยมพระสกนิกรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ทรงสังเกตเห็นว่ามีปริมาณเมฆมาก ปกคลุมตลอดพื้นที่ แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนได้ ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นฤดูฝน ประกอบกับมีพระทัยห่วงใยอยู่แต่เดิมว่าภาวะแห้งแล้งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระอัจฉริยะด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์จึงมีพระราชดำรัสให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์, ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล และ ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ร่วมกันค้นคว้าทดลองวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่
ด้วยเหตุนี้โครงการ ‘ฝนหลวง’ หรือ ‘ฝนเทียม’ จึงได้เกิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้จักตั้ง ‘สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง’ ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะต่อมา หลังศึกษาค้นคว้านานถึง ๑๒ ปี ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้ทดลองโปรยสารเคมีเพื่อทดลองฝนหลวงเป็นครั้งแรก ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แต่ผลไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการนัก จึงมีการค้นคว้าปรับปรุงเรื่อยมาจนประสบความสำเร็จดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
แม้ในขณะนี้โครงการฝนหลวงจะประสบความสำเร็จจนกลายเป็นต้นแบบให้หลายประเทศมาศึกษาดูงาน แต่ก็ยังค้นคว้าต่อเพื่อให้วิธีทำฝนพัฒนาก้าวหน้า โดยพระราชทานแนวความคิดไว้หลายประการ เช่น สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำสำเร็จ ไทยจะได้เป็นผู้นำของการทำฝนหลวงในภูมิภาคนี้ อีกวิธีหนึ่งที่กำลังค้นคว้าอยู่ก็คือ การใช้เครื่องพ้นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาเข้าสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขาได้

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ดำเนินการยื่นขอจดสิทธิบัตรฝนหลวงในสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยสหภาพยุโรปได้รับจดสิทธิบัตรเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าวในสหภาพยุโรป จะทำให้ฝนหลวงของพระองค์ได้รับการคุ้มครองถึง ๓๐ ประเทศ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติยังได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรฝนหลวงในสหรัฐอเมริกาด้วย

นอกจาก ‘ฝนหลวง’ จะนำความชุ่มฉ่ำละความหวังมาสู่ชีวิตเกษตรกรชาวไทยแล้ว ยังเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติด้วย เพราะหลายๆ ประเทศได้ทำหนังสือมายังสำนักฝนหลวงเพื่อขอพระราชทานฝนหลวงไปช่วยเหลือประชากรในประเทศที่ประสบภาวะแห้งแล้งด้วย เช่น อินโดนีเซียและประเทศในแถบตะวันออกกลาง ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ‘Brussel Eureka 2001 : 50 th World Exhibition Innovation, Research and New Technology’ ครั้งที่ ๕๐ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ประเทศไทยได้ส่งผลงานประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ผลงาน คือ โครงการทฤษฎีใหม่ โครงการฝนหลวง และโครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดน้ำมันปาล์ม เข้าร่วมแสดงในนิทรรศการนี้ด้วย ทั้ง ๓ โครงการได้รับสดุดีเทิดพระเกียรติคุณเป็นกรณีพิเศษ โดยได้รับรางวัล Gold Medal with Mention พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติ



2. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านคมนาคม/สื่อสาร
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสื่อสาร และเทคโนโลยีจะเกี่ยวกับการปรับปรุงถนนหนทาง ทั้งในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เพื่อใช้สัญจรไปมาและนำสินค้าออกมาจำหน่ายภายนอกได้โดยสะดวก ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาม โครงการแรกคือโครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบันคือตำบลทับใต้) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนกระทั่งโครงการสะพานพระราม 8 ที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ได้รับความสะดวกยังผลสู่ภาพรวมของประเทศทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ ดังพระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ความว่า

“สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้นสำคัญที่สุดคือถนนก็ต้องมีถนนที่เหมาะสมทีเครื่องควบคุมการจราจรไม่ใช่เรื่องของรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรมก็จะต้องให้ดีขึ้น คือหมายความว่าทำให้ถนนดีขึ้น ให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักสุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว ไม่ได้มีแผนผังเมืองที่จริงๆ จัง ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ได้ประโยชน์มากนักเพราะว่าคนไทย ตามชื่อคนไทย คืออิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวนี้ก็สร้างก็ไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่นอันนี้ก็เลยแก้ไม่ได้...”

โครงการสะพานพระราม 8




โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เมื่อปี 2538 ณ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8” ด้วยทรงตระหนักถึงความคับคั่งของการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ ระหว่างพื้นที่ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีที่ยังขาดการเชื่อมต่อที่เพียงพอทำให้เกิดการคับคั่งของการจราจร บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ชั้นใน บริเวณถนนราชดำเนินราชดำเนินกลาง ซึ่งต่อกับฝั่งธนบุรีโดยผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งของฝั่งธนบุรีที่มีปริมาณการจราจรคับคั่งให้สามารถคลี่คลายลงได้




3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่งดังจะเห็นว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีตามไปด้วย ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“... การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดี พร้อมทั้งร่ายกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นแต่ผู้สร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ



แพทย์พระราชทานดังกล่าว จะจัดชุดทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ ได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ ตามเสด็จไปรักษาพยาบาลยังหมู่บ้านต่าง ๆ

การอบรมหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
พระราชดำริให้คัดเลือกราษฎรอาสาสมัครตามหมู่บ้านต่าง ๆ มารับการอบรมหลักสูตร “หมอหมู่บ้าน” โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรมเหล่านี้จะได้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตน การอบรมเน้นในเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเวชศาสตร์ป้องกันอย่างง่าย ๆ การโภชนาการ (โดยเฉพาะแม่และเด็ก) การติดต่อกับเข้าหน้าที่รักษาพยาบาลของรัฐคือ สถานีอนามัยจนถึงโรงพยาบาลอำเภอและจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่มาให้การสนับสนุนในการอบรมหน่วยต่าง ๆ ทั้ง พลเรือน และทหาร ฝ่ายปกครองและฝ่ายการแพทย์ สถานที่ดำเนินการฝึกอบรมได้แก่ โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลนราธิวาส และโรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่ งานทั้ง ๒ ลักษณะข้างต้นมีพื้นที่ครอบคลุมในภาคเหนือตอนบน ประมาณ ๑๐ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๘ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร มหาสาคาม กาฬสินธุ์ เลย และในภาคใต้ ๔ จังหวัดคือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา โครงการแพทย์พระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย การบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทานและอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะจากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษาผู้ป่วยจะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใด ๆ และสำหรับการอบรมหมอหมู่บ้านนั้นจะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรู้จักวิธีติดต่อกับหน่วยราชการในกรณีที่เกินขีดความสามารถที่จะดูแลรักษาตนเองได้ อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่าโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานสามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรง จะช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ราษฎรทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการบำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จะเป็นชาวชนบทที่ยากจนที่มีอาชีพเป็นการเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจากจำนวนตัวเลขที่ปรากฏในแต่ละปีจะมีราษฎรที่เจ็บป่วยจากทุกภาคที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งที่เป็นคนไข้ในโรงพยาบาล และผู้ที่มาขอรับการตรวจ ตลอดจนจากการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จ ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีจำนวนมากมายนับหมื่นนับแสนคน
๒. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่จะต้องใช้กำลังกายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้ว ราษฎรเหล่านั้นจะมีร่างกายที่สามารถต่อสู่กับงานหลักในการประกอบอาชีพได้ ยังผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอนพระมหากรุณาธิคุณทางด้านการแพทย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระองค์ทรงไม่ทอดทิ้งประชาชนและทรงนำพาประชาชนไปสู่ความมีสุขภาพที่ดีและอยู่ดีกินดีได้ในที่สุด

“...ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแล บำบัดทุกข์ให้แก่เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่กันดารห่างไกลหมอ และจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปบนรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชนบท...”

งานครั้งที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 4 เสนออาจารย์มงคล ภวังคนันท์

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนที่ 4 การสื่อความหมาย

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน

2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”

3.


4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด

5. Elments หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น



6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อยๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ


7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น จะทำอย่างไรให้ผู้รับสารเข้าใจเกี่ยวกับสารให้มากที่สุด


8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัส และเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น แชมพูที่มี Treatment เพื่อไว้บำรุงผม แต่ในที่นี้หมายถึงรูปแบบของการสื่อความหมาย (Style)


9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง ฯลฯ


10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ


11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ


12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆ ได้


13. Decode หมายถึง ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ 1. อุปสรรคด้านภาษา (Verbalism)2. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)3. ขีดจำกัดของประสาทสัมผัส (Limited Perception)4. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)5. การไม่ยอมรับ6. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร


14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้



15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนมักจะประสบความล้มเหลวบ่อยๆ เนื่องจากอุปสรรคหลายประการดังนี้
1. ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดเป้าหมายในการเรียน
2. ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงมักใช้วิธีสอนแบบเดียวกันทุกคน
3. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมแก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน
4. ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมายของคำ และเนื้อหาโดยรวม
5. ครูผู้สอนมักนำเสนอเนื้อหากวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมาทำให้เข้าใจยาก
6. ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียนดังนั้นในกระบวนการเรียนการสอนจึงควรคำนึงถึงอุปสรรคต่างๆ และพยายามขจัดให้หมดไป เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

มือถือ นวัตกรรมที่พัฒนาไม่หยุดยั้ง เสนอ อาจารย์ชวน ภารังกูล

มือถือพัฒนาการไม่หยุดยั้ง นวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง
นับตั้งแต่โทรศัพท์เคลื่อนที่กำเนิดขึ้นมา มนต์เสน่ห์ของการส่งข้อความยังไม่มีแนวโน้มจืดจาง แถมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เอื้อให้สามารถส่งภาพพร้อมเสียงยังจะทำให้ผู้คนหันมาสนใจการสื่อสารรูปแบบนี้มากขึ้น บริษัทวิจัยฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ชฯ คาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้า คนยุโรปจะส่งข้อความกันเดือนละ 17,000 ล้านข้อความ ในเอเชียการส่งข้อความได้รับความนิยมเช่นกัน โดยเฉพาะในญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่คลั่งไคล้การส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์จนได้ฉายา "Thumb Tribe" หรือชนเผ่าหัวแม่มือ ส่วนในสหรัฐ วัฒนธรรมการส่งข้อความถึงกันทางโทรศัพท์ไม่แรงเทียบเท่าเอเชียและยุโรป ล่าสุดการส่งข้อความกำลังกลายเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มาแรงในกลุ่มคนพิการที่หูหนวกและเป็นใบ้ ย่อคีย์บอร์ดลงคีย์แพด หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกคับข้องใจทุกครั้งในการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เนื่องเพราะต้องคอยกดไล่หาตัวอักษรเรียงตามลำดับจากปุ่มตัวเลขซึ่งแต่ละปุ่มจะมี 3-4 อักษร กว่า จะ เรียบเรียงได้แต่ละประโยคก็เล่นเอาเกร็งนิ้วเสียเมื่อยแถมยังใช้เวลาอีกต่างหาก เคยคิดใช่ไหมว่าหากปุ่มหนึ่งปุ่มแทนตัวอักษรแต่ละตัวเหมือนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ก็คงจะดีกว่านี้มาก บริษัทดิจิตอล ไวร์เลสฯ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในสหรัฐก็คิดเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงได้สร้างสรรค์คีย์แพดนวัตกรรมใหม่ที่แม้จะคง 12 ปุ่มไว้ตามเดิมบน พื้นที่ขนาดพอๆ กับนามบัตร แต่ดิจิตอล ไวร์เลสได้ออกแบบคีย์แพดรุ่นใหม่ให้มีปุ่มตัวอักษรทั้ง 26 ตัวแทรกครบครันทั้งแนวตั้งและแนวนอนของช่องว่างระหว่างปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ ทีมงานที่คิดค้นนวัตกรรมนี้เผยว่าแม้จะเป็นปุ่มแทรกตามช่องว่างของปุ่มตัวเลขเดิมแต่ก็มีพื้นที่เพียงพอสำหรับกดปลายนิ้วและไม่กระทบโดนปุ่มอื่น เมื่อแต่ละปุ่มแยกเป็นเอกเทศอย่างนี้จึงทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์สามารถพิมพ์ข้อความได้เร็วกว่าเดิม 2 เท่า เดวิด เลวี่ ผู้ก่อตั้งดิจิตอล ไวร์เลส กล่าวว่าแต่ละปุ่มแทบจะมีลักษณะไม่ต่างจากปุ่มบนคีย์บอร์ดมาตรฐานของคอมพิวเตอร์เลย แม้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายจะพยายามทำให้การส่งข้อความรวดเร็วขึ้นโดยการนำซอฟต์แวร์บางโปรแกรมมาใช้ อาทิ ซอฟต์แวร์ที่สามารถทำนายคำแม้ผู้ใช้จะพิมพ์ยังไม่จบประโยคก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เร็วขึ้นเท่าใดเมื่อเทียบกับการใช้ "ฟาสแท็ป" ก่อนที่จะมาตั้งบริษัทเป็นของตนเอง เลวี่เคยทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์นวัตกรรมของบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ฯ เป็นเวลา 5 ปี และได้รับอิทธิพลค่อนข้างมากจากดีไซน์ของคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปรุ่น "พาวเวอร์ บุ๊ก" เลวี่กล่าวว่าเขาออกแบบ "ฟาสแท็ป" โดยมีทฤษฎีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลเป็นแบบอย่าง นั่นคือการออกแบบของใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เลวี่กล่าวว่า คีย์แพดแบบเดิม 12 ปุ่ม เป็นรุ่นที่ใช้มานานหลายสิบปีแล้ว แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ล้าสมัยและใช้งานยาก ดังนั้นจึงเชื่อว่า "ฟาสแท็ป" จะได้รับความนิยมจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการสร้างรายได้เพิ่มโดยกระตุ้นให้สมาชิกใช้บริการส่งข้อความมากขึ้น คาดว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่นวัตกรรม "ฟาสแท็ป" รุ่นแรกซึ่งผลิตโดยบริษัท ฟิวเจอร์คอม โกลบอล ในสหรัฐจะวางตลาดเป็นครั้งแรกในปลายปีนี้ เลวี่เผยดิจิตอล ไวร์เลสได้เจรจากับผู้ผลิตโทรศัพท์หลายราย คาดว่าปีหน้าจะมีโทรศัพท์ที่ใช้ "ฟาสแท็ป" หลากหลายรุ่นจากหลายค่ายออกสู่ตลาด และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการผลิต "ฟาสแท็ป" เป็นหน้ากากสำหรับครอบทับโทรศัพท์รุ่นเดิมที่มีอยู่